เมนู

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [1. กัมมขันธกะ] 4. ปฏิสารณียกรรม

1. ไม่งดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ 2. ไม่งดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ
3. ไม่ทำการไต่สวน 4. ไม่เริ่มอนุวาทาธิกรณ์
5. ไม่ขอโอกาสภิกษุอื่น 6. ไม่โจทภิกษุอื่น
7. ไม่ให้ภิกษุอื่นให้การ 8. ไม่ชักชวนกันก่อความทะเลาะ

ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 8
เหล่านี้แล
ปฏิปัสสัมเภตัพพอัฏฐารสกะในปฏิสารณียกรรม จบ

วิธีระงับปฏิสารณียกรรมและกรรมวาจา
[45] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับปฏิสารณียกรรมอย่างนี้ คือ ภิกษุสุธรรม
พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษา
ทั้งหลาย นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมถูกสงฆ์ลง
ปฏิสารณียกรรมแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ กระผมจึงขอ
ระงับปฏิสารณียกรรม
พึงขอแม้ครั้งที่ 2 ฯลฯ
พึงขอแม้ครั้งที่ 3 ฯลฯ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุสุธรรมนี้ถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแล้ว
กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับปฏิสารณียกรรม ถ้าสงฆ์พร้อม
กันแล้ว พึงระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุสุธรรมนี้ถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแล้ว
กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับปฏิสารณียกรรม สงฆ์ระงับ
ปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรมแล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการระงับปฏิสารณียกรรม
แก่ภิกษุสุธรรม ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :84 }